4 ข้อที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ‘การลงทุนอย่างยั่งยืน’
ความเข้าใจผิดแรก“การลงทุนอย่างยั่งยืนทำให้ผลตอบแทนของกองทุนรวมลดลง”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
รู้จัก “กองทุนรวม” ทางเลือกสร้างความมั่งคั่งทางการเงิน
รู้จักกระปุกเงิน 5 ชีวิต มีไว้เพื่อ หาเงิน ใช้เงิน เก็บออม ต่อยอด
แต่อีกด้านหนึ่งผลการศึกษากลับพบว่า ผู้จัดการกองทุนที่รวมปัจจัยสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล หรือที่เรียกว่า ESG เพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน จะช่วยทำให้เห็นโอกาสและความเสี่ยงที่อาจส่งกระทบต่อการดำเนินงานของกองทุนรวมได้อย่างคลอบคลุม เช่นรถยนต์ไฟฟ้า (electric vehicle : EV) ผู้บริโภคมีความต้องการใช้เพื่อประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดโอกาสทางธุรกิจ
ดังนั้นผู้จัดการกองทุนที่ผนวกปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนจะช่วยให้สามารถ ประเมินโอกาสทางการลงทุนรวมถึงกิจการที่ออกหลักทรัพย์ที่กองทุนรวทจะตัดสินใจลงทุน และพอร์ตการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพสร้างผลตอบแทนจาก การลงทุนที่ดีในระยะยาวได้ต่อไป
แต่ผลตอบแทนของกองทุนรวมมีโอกาสปรับลดลงได้เช่นกันหลังจากที่ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนแล้ว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความไม่แน่นอนทางการเมือง เงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขึ้น ฯลฯ เป็นสิ่งที่กองทุนรวมลงทุนไม่อาจควบคุมได้
ความเข้าใจผิดข้อที่ 2การลงทุนอย่างยั่งยืนเป็นการลงทุนที่มุ่งเน้นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น
แต่ในความจริงแล้ว การลงทุนอย่างยั่งยืนไม่จำเป็นต้องมุ่งเน้นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียวบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) สามารถจัดตั้งและบริหารจัดการกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนที่มุ่งเน้นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่น ๆ เช่น การดูแลสุขภาพ และคุณภาพชีวิต การศึกษา การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น
ความเข้าใจผิดข้อที่ 3 การลงทุนอย่างยั่งยืน คือ การไม่ลงทุนในกิจการที่ดำเนินธุรกิจขัดต่อเป้าหมายด้านความยั่งยืน เท่านั้น
การบริหารจัดการกองทุนรวมที่มุ่งเน้นการ ลงทุนอย่างยั่งยืน ผู้จัดการกองทุนอาจเลือกใช้กลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลายนอกเหนือไปจากการคัดกรองเชิงลบ (negative screening) หรือการคัดกรองกิจการบางประเภทที่อาจขัดต่อหลักจริยธรรมออกจากขอบเขตการลงทุน
โดยผู้จัดการกองทุนปฏิบัติหน้าที่ผู้ลงทุนที่มีความรับผิดชอบ (stewardship activities) ด้วยการ เข้าไปมีส่วนร่วมกับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ (engagement) เพื่อให้บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมหารือร่วมกับบริษัทในประเด็นสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าเงิน ลงทุน เพื่อส่งเสริมให้บริษัทมีการปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
โดยหากบริษัทไม่มีการพัฒนา หรือดำเนินการภายใต้กรอบระยะเวลาที่ตกลงกัน ผู้จัดการกองทุนก็อาจพิจารณาลดสัดส่วนหรือ ไถ่ถอนการลงทุนออก จากบริษัทดังกล่าวได้ต่อไป
ความเข้าใจผิดข้อที่ 4การลงทุนอย่างยั่งยืน คือ กระแสการลงทุนของคนกลุ่มมิลเลนเนียลเท่านั้น
แม้ว่าคนกลุ่มมิลเลนเนียล (millennials) หรือกลุ่มคนเจนวาย (Gen Y) ที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2527 – 2539 จะเป็น กลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก แต่ผลการศึกษากลุ่มผู้ลงทุนในหลายประเทศพบว่า ความสนใจเกี่ยวกับการ ลงทุนอย่างยั่งยืนครอบคลุมกลุ่มคนหลายรุ่น ไม่ใช่แค่กลุ่มมิลเลนเนียลเพียงอย่างเดียว
แต่ที่แตกต่าง คือกลุ่มมิลเลนเนียล ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนมากกว่าและเป็นกลุ่มที่เพิ่งจะเริ่มเส้นทางการลงทุนและสามารถยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน หากเทียบกับกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ที่อยู่ในวัยเกษียณที่ให้ความสำคัญกับสังคมและศาสนามากกว่า
สุดท้ายแล้วผู้ลงทุนควรศึกษานโยบาย การลงทุนของแต่ละกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุประสงค์การลงทุนด้านความยั่งยืนของกองทุน รวมนั้น ๆ สอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนของตนเอง
ข้อมูล :คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์